พุยพุย

วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี ที่ 31 เดือนมกราคม 2560

การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย 

ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
- มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก
- มีขนาดที่พอเหมาะ
- มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่างๆ
- มีความทดทาน
- สีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
-สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้

การจัดระบบสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
1. การเลือกสือ
   1.1 มีความปลอดภัย ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษ 
   1.2 คำนึงถึงประโยชน์ ที่จะกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
   1.3 ความประหยัด ประหยัดในแง่ของวัสดุ
   1.4 มีประสิทธิภาพ ใช้ได้หลายอย่าง หลายโอกาส
2. วิธีการเลือกสื่อ
   2.1 เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
   2.2 มีคุรภาพดี
   2.3 สื่อที่สามารถสัมผัสได้
   2.4 สื่อที่ส่งเสริมการคิด 

หลักการผลิตสื่อการเรียนการสอน
1. สำรวจความต้องการในการใช้สื่อ
2. วางแผนในการผลิต
3. ดำเนินการผลิตตามรูปแบบที่ได้วางแผนไว้
4. ทดสอบคุณบัติ
5. นำสื่อที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วใช้จริง

ขั้นตอนการใช้สื่อ
1. เตรียมครู
2. เตรียมตัวเด็ก
3. เตรียมสื่อ

การนำเสนอสื่อ
1. สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจ
2. ใช้สื่อตามลำดับที่วางแผน
3. ควรอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังสื่อ ไม่ยืนหันหลังให้เด็ก
4. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อหลายๆชนิดพร้อมกัน
5. เปิดโอกาสให้เด็กร่วมกิจกรรม
6. ควรสังเกตความสนใจ คำพูดของเด็ก

การประเมินการใช้สื่อ
1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้
2. เด็กชอบมากเพียงใด
3. สื่อการสอนตรงกับจุดมุ่งหมาย
4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจหรือไม่

การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
1. ตรวจสอบทุกครั้งหลังใช้สื่อ 
2. ฝึกให้เด็กรักษาของ
3. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบ
4. ควรซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด

สื่อการสอนเดินได้
การสอนบางครั้งนั้นไม่มีสื่อการสอนเลย แต่การสอนก็สำเร็จได้ด้วยครูและสิ่งที่ครูมีอยู่ในตัว
1. สายตา
2. สีหน้า
3. น้ำเสียง

ของเล่น
1. ของเด็กเล่น
2. เครื่องกีฬา
3. เครื่องดนตรี

การจัดประเภทการเล่นตามทฤษฎีเชิงรู้คิด
1. ของเล่นเพื่อการรับรู้
2. การเล่นที่ต้องให้ความคิด
3. ของเล่นที่ต้องลงมือทำ
4. ของเล่นที่เลียนแบบ
5. ของเล่นเพื่อพัฒนาภาษา

คุณสมบัติของของเล่นที่ดี 
1. เป็นของเล่นที่ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ
2. เป็นของเล่นที่เหมาะกับอายุ
3. เป็นของเล่นที่ช่วยฝึกการเคลื่อนไหว
4. กระตุ้นการเล่นเป็นกลุ่ม

ทฤษฎีและพัฒนาการเล่นของเด็กปฐมวัย
รูดอล์ฟสรุปเป็นองค์ประกอบการเล่นได้ 3 ประการ คือ
1. การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
2. การเล่นเป็นการเชื่อมดยงระหว่างเด็กกับสังคม
3. การเล่นนำไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์

พฤติกรรมการเล่นของเด็ก
1. การเล่นเลียนแบบ
2. การสำรวจ
3. การทดสอบ
4. การสร้าง

ประโยชน์ของการเล่น
1. การเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้
2. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น